วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 ประจำวันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

ทักษะ

          ผู้สอนให้คำแนะนำในหารทำบล็อค บอกความสำคัญของบล็อค

วิธีการสอน

           มีการระดมความคิด ถาม-ตอบ ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

ประเมินห้องเรียน 

           บรรยากาศดี มีโต๊ะและเก้าอี้เพียงพอแก่ผู้เรียน

ประเมิน

           - ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ ในการออกความคิดเห็นการแสดงออกทางสีหน้าอาจทำให้อาจารย์เข้าใจผิด แต่จริงๆแล้วหนูไม่ได้มีเจตนาจะเถียงหรือขัดความคิดของอาจารย์เลย ขอโทษค่ะ -/\-
           - เพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการโต้แย้งออกความคิดเห็น
           - อาจารย์ แต่งกายเหมาะสม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 ประจำวันพุธที่ 22 เมษายน 2558


จัดการการเรียนการสอนในห้องเรียน




ทักษะ
              อาจารย์ให้เพื่อนที่ยังไม่ได้สอนออกมาสอนตามแผนที่เขียนไว้

วิธีสอน
              อาจารย์สอนโดยวิธีการอธิบายประกอบแผนการสอน  มีการระดมความคิดร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

ประเมินห้องเรียน
              การจัดโต๊ะที่นั่งเรียนเน้นให้ผู้เรียนมองเห็นผู้สอนและผู้สอนได้เข้าถึงผู้เรียนอย่างทั่วถึง 

ประเมิน
             - ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ พูดคุยขณะที่ผู้สอนกำลังทำการสอนเล็กน้อย
             - เพื่อน   ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอความเห็นและรับฟังความเห็นของผู้อื่น
             - อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม การสอนใช้เสียงและภาษาที่ฟังได้ชัดเจน ให้ทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เข้าใจถึงเนื้อหาที่เรียนมากขึ้น

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 ประจำวันพุธที่ 8 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับ


เพลง กล้วย
กล้วยคือผลไม้ใครๆก็ชอบกินกล้วย
ค้างคาว ช้าง ลิง ฉันด้วย กินกล้วยมีวิตามิน
กล้วยส้ม กล้วยหอม กล้วยไข่
ขาดไม่ได้คือกล้วยน้ำว้า ตัดใบห่อขนมเธอจ๋า
ส่วนก้านเอามาทำม้าก้านกล้วย

เพลง แตงโม
แตงโม แตงโม แตงโม
โอโอ แตงโมลูกใหญ่
เนื้อแดงเรียกว่าจินตหรา
เนื้อเหลืองนี่หนาเรื่องว่าน้ำผึ้ง

เพลงไก่ กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก่ชนเดินมาแล้งร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก
ไก่ไก่ไก่ ไก่นั้นมีสองขา
ไก้แจ้เดินมาแล้วร้องว่า กระต๊าก กระต๊าก

วิธีการสอน
                 มีการใช้คำถามให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษาในการบรรยายทบทวนความรู้เดิม เสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตในสังคมว่าสิ่งใดควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติ

ประเมินห้องเรียน
                 มีความสะอาดเรียบร้อย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ได้ครบ

ประเมิน
                 - ตนเอง แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงเวลา 
                 - เพื่อน   ตั้งใจฟังการนำเสนอของเพื่อน มีข้อสงสัยจะยกมือถามทันที ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
                  - อาจารย์  แต่งกายเหมาะสม เข้าสอนตรงเวลา อธิบายเรื่องต่างๆได้อย่างเข้าใจ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 ประจำวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2558

ความรู้ที่ได้รับ

เลขที่ 25 นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การสอนคณิตศาสตร์กับเด็กอนุบาล 1
                เด็กอนุบาล 1 ต้องสอนผ่านการเล่น การมีสิ่งที่เขาสนใจ สิ่งที่ดึงดูดเขาได้ เช่น การเล่น รูปทรงต่างๆและสี การสอนต้องเป็นการสอนแบบถามแล้วให้เขาตอบมีส่วนร่วมเสมอ ให้เขาได้จับ ได้สัมผัสและต้องยกตัวอย่างให้เขาเห็นอย่างชัดเจน 

เลขที่ 4 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่
                การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมั่งหมายที่สำคัญเพื่อศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่และเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการได้รับการจัดประสบการณ์

เลขที่ 5 นำเสนอวิจัย เรื่อง การเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่จัดประสบการณ์โดยการใช้เกม
                การเล่นเกมจับคู่ ร้องเพลงที่สนุกทำให้เด็กมีความสุข การเรียนปนเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่รู้ตัวและการจัดประสบการณ์ตามคู่มือครูอาจจะเคร่งเครียดจนเกินไป มีแบบแผน มีกรอบทำให้เด็กอาจไม่มีความสุขในการเรียนคณิตศา่สตร์

เลขที่ 6 นำเสนอวิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบ  
                 กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยขนมอบเป็นกิจกรรมที่เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสในการทำกิจกรรมตกแต่งบนขนมอบ คือ ขนมปัง คุกกี้ พาย เค้ก ขนมอบทั้ง 4 ชนิดมีรูปร่าง รูปทรง เด็กจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือปฏิบัติ โดยการทา การเขียน การโรย ตามความคิดและจินตนาการและเด็กยังได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นอีกด้วย

จับกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจเพื่อทำแผนความคิด
แผนความคิดเรื่องกล้วย

นำความคิดที่ได้มาทำการเขียนแผนการสอน


วิธีการสอน
                มีการใช้คำถามและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากการนำเสนอของผู้เรียน  ใช้สื่อโดยโปรแกรม Powerpoint ในการบรรยาย

ประเมินห้องเรียน
                ห้องเรียสะอาด โต๊ะและเก้าอี้อยู่ในสภาพดี มีจำนวนที่พอเหมาะแก่ผู้เรียน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้งานได้ปกติ

ประเมิน
                 - ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา แต่กายถูกระเบียบและตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย
                 - เพื่อน มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆได้ดี
                 - อาจารย์  เข้าสอนและปล่อยตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม



บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 ประจำวันพุธที่ 25 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

     การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
          พูดให้เสียงดังชัดเจน คำควบกล้ำ การออกเสียง ร ล ให้ชัดเจน
          เรียนอาจารย์ที่เคารพและสวัสดีเพื่อนๆทุกคน
           วันนี้จะมานำเสนอ.... สมาชิกมีดังนี้(เริ่มแนะนำจากคนซ้ายมือของตนเอง)

การแต่งคำคล้องจอง  ควรจะมีการสัมผัสกันระหว่างบทเพื่อความไพเราะ

ทักษะ
          นำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย 
กรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  
           - นิทาน
           - คำคล้องจอง
           - ปริศนาคำทาย

วิธีการสอน
            ให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์ มีการระดมความคิดร่วมกับผู้เรียน แนะนำวิธีการนำเสนอ

ประเมินห้องเรียน
             เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมแก่การใช้งาน โต๊ะเพียงพอแก่ผู้เรียน

ประเมิน
             - ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอ
             - เพื่อน    เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมต่างๆ
             - อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสอบถามข้อสงสัย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 ประจำวันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2558

สิ่งที่ได้รับมอบหมาย
          
         1. แบ่งกลุ่มเป็น 8 กลุ่ม
         2. แต่ง คำคล้องจอง , นิทาน , ปริศนาคำทาย 

ตามสาระการเรียนรู้ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ที่จับฉลากได้


          สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ ทั้งหมด 2 กลุ่ม

          สาระที่ 2  การวัด 1 กลุ่ม
          สาระที่ 3  เรขาคณิต
          สาระที่ 4  พีชคณิต
          สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
          สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์




บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 ประจำวันศุกร์ที่ 13 มีนาคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

        นำเสนอวิจัย
                -  เลขที่ 22 เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ โดยใช้ขั้นตอนการเรียนรู้ตามรูปแบบ 4 ขั้นตอน
            - การกระตุ้นโดยใช้คำถามดึงดูดให้เด็กได้สนใจที่จะเรียนรู้
            - การกรองสู่มโนทัศน์ ทำให้เด็กได้เห็นภาพโดยการนำของจริงมาให้เด็กได้ดูและปฏิบัติ
            - การย้ำเพื่อพัฒนา โดยการใช้ศิลปะให้เด็กลงมือกระทำ
            - การสุปความรู้ที่ได้
ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กในเรื่องของการจำแนก การบอกตำแหน่ง การตอบปากเปล่า ทักษะการรู้ค่าของจำนวน


                 -  เลขที่ 24 เรื่อง พัฒนาความพร้อมคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เพลง
   มีวิธีการจัดกิจกรรมโดยการเปิดเพลง มีการเคลื่อนไหวประกอบบทเพลงและครูผู้สอนกำหนดกติกาเพื่อให้เด็กได้เล่นเกม ซึ่งสิ่งที่เด็กได้ก็คือเรื่องของสูงต่ำและการนับจำนวน เพราะเด็กได้ร้องเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสูงต่ำและการนับจำนวน


ทักษะ
       ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความคิดภายในกลุ่มและให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอเพิ่มเติม


วิธีการสอน
        บรรยายประกอบโปรแกรม Powerpoint และให้นักศึกษาระดมความคิดกันในแต่ละกลุ่ม


ประเมินห้องเรียน
         บรรยากาศเป็ฯที่น่าเรียน มีโต๊ะเพียงพอแก่ผู้เรียน 

ประเมิน
          - ตนเอง  มาเรียนตรงเวลาให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
          - เพื่อน    เข้าเรียนตรงเวลาแต่เพื่อนที่นั่งแถวหลังคุยกันเสียงดัง
          - อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเหมาะสม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 ประจำวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558



ทักษะ
กิจกรรมในห้องเรียน


เกณฑ์การแบ่งกลุ่ม
       1 - 5      กลุ่มสตอเบอร์รี่
       6 - 10    กลุ่มเชอร์รี่
       11 -15   กลุ่มแอปเปิ้ล
       16 - 20  กลุ่มลิ้นจี่
       21 - 25  กลุ่มมะม่วง

วิธีดำเนินการ
       - นำป้ายชื่อมาติด
       - พิจารณาเกณฑ์การแบ่ง
       - เลือกกลุ่ม
       - นับจำนวนคนทั้งหมดที่มาเรียน
       - นับจำนวนป้ายทั้งหมด
       - นำเสนอด้วยภาพและสัญลักษณ์

เพลง บวกลบ
                 บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ         ครูให้อีกสามใบนะเธอ
                 มารวมกันนับดีดีสิเออ       ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
                 บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ     หายไปสามใบนะเธอ
                 ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ       ดูสิเออเหลือเพียงสี่ใบ

เพลง เท่ากัน - ไม่เท่ากัน
                                 ช้างมี 4 ขา          ม้ามี 4 ขา
                                 คนเรานั้นหนา      2 ขาต่างกัน
                                 ช้างม้ามี 4 ขา      4 ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
                                 แต่กับคนนั้น        ไม่เท่ากันเอย(ซ้ำ)

เพลง ขวดห้าใบ
                              ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง(ซ้ำ)
                            เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
                คงเหนื่อยขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง ลดลงเหลือสี่
           (ลดจำนวนขวดลงไปตามอันดับ จนกระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
                ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง จำทำอย่างไรกันดี

วิธีการสอน
         อาจารย์ใช้คำถาม ให้ข้อเสนอแนะ อธิบายเพิ่มเติมจากการนำเสนอของนักศึกษา ใช้สื่อ Powerpoint ทบทวนความรู้เดิม

ประเมินห้องเรียน
          ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศเหมาะสมแก่การเรียนการสอน

ประเมิน
          - ตนเอง มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจเรียน
          - เพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
          - อาจารย์  มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม




บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 ประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558





                                                                                  เพลง
                                 นี่คือนิ้วมือของฉัน          มือฉันนั้นมี 10 นิ้ว
                                 มือซ้ายฉันมี 5 นิ้ว          มือขวาก็มี 5 นิ้ว   
                                 นับ 1 2 3 4 5                 นับต่อมา 6 7 8 9 10     
                                 นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ        นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ 

วิธีการสอน
         สอนโดยการให้ผู้เรียนลงมือปฎิบัติจริง มีการใช้คำถามเพื่อให้คิดวิเคราะห์ ระดมความคิดของตนเองและออกความคิดเห็น  บรรยายโดยใช้ Powerpoint


ประเมินห้องเรียน
          ห้องเรียนสะอาด มีโต๊ะเพียงพอสำหรับผู้เรียน

ประเมิน
          - ตนเอง  มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม
          - เพื่อน   เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีบางคนใส่ชุดพละมาเรียน
          - อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม สอนโดยอธิบายเนื้อหาอย่างละเอียด และถามข้อเสนอแนะหลังเลิกเรียน 



บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 ประจำวันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558




กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
         ( ตัดกระดาษ 1.5" x 1.5" จำนวน 10 ชิ้น)







ทักษะ
                            
 สถานที่ที่นักศึกษาอยากไปมากที่สุด


สรุป
        อยากไปสวนรถไฟ  3  คน
              "      เกาะ         10 คน
              "      น้ำตก         3 คน

ประเมินห้องเรียน
        ห้องเรียนมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมเหมาะสม  อากาศถ่ายเทสะดวก มีที่นั่งพอแก่ผู้เรียน

ประเมิน
        - ตนเอง มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและตั้งใจตอบคำถาม
        - เพื่อน   ตั้งใจเรียน อาจมีคุยกันบ้างเล็กน้อย
        - อาจารย์   มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 ประจำวันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558



ทักษะ

         นำเสนอบทความโดยนางสาว ชนากานต์  แสนสุข
   สรุป   การจัดประสบการณืการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย
             การให้เด็กรู้คณิตศาสตร์จะทำให้เด็กมีเหตุผล เข้าใจกระบวนการคิดเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอด การบวก การลบ รู้กระบวนการหาคำตอบ เช่น การชั่งน้ำหนัก รู้จักคำศัพท์และสัญลักษณ์ รู้จักการนับ การวัด  สามารถทำได้ตั้งแต่เด็ก ควรจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม


วิธีการสอน
         มีการตั้งคำถามให้ผู้เรียนได้ตอบคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่สมบูรณ์
         สอนผ่านโปรแกรม Powerpoint และเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ประเมินห้องเรียน
          จำนวนโต๊ะและเก้าอี้เพียงพอต่อผู้เรียน

ประเมิน
           - ตนเอง  มาเรียนตรงเวลา มีการเตรียมควงามพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน
           - เพื่อน    ขณะที่อาจารย์กำลังสอนมีพูดคุยกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนและตั้งใจตอบคำถาม
           - อาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม และเนื้อหาที่สอนละเอียดกระชับทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 ประจำวันพุธที่ 28 มกราคม 2558




 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         1. การสังเกต การเก็บรวบรวมโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
         2. การจำแนกประเภท เป็นการแบ่งประเภทโดยใช้เกณฑ์
         3. การเปรียบเทียบ  ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของสิ่งของ
         4. การจัดอันดับ การจัดอันดับต้องมีการเปรียบเทียบก่อน
         5. การวัด  การหาค่าและปริมาณโดยใช้เครื่องมือ
         6. การนับ  
         7. รูปทรงและขนาด

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
          - เอาใจใส่เรื่องการเรียนรู้
          - สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
          - เปิดโอกาสให้เด็กค้นพบด้วยตนเอง

วิธีการสอน
           ทำแบบทดสอบวัดความรู้เดิมและเป็นการทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้เรียน
           สอนประกอบ Powerpoint 

ประเมินห้องเรียน
            จัดเก้าอี้เป็นรูปครึ่งวงกลมเพื่อที่ผู้สอนจะได้เข้าถึงผู้เรียนมากขึ้น

ประเมิน
             - ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่ครูสอนและตอบคำถาม
             - เพื่อน    ตอบคำถามที่ผู้สอนถามได้ดี ให้การร่วมมือต่อกิจกรรมต่างๆ
             - อาจารย์   เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม สอดแทรกเนื้อหาเพิ่มเติมจากบทเรียนทำให้เข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

สรุปงานวิจัย



เรื่อง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กนั้น ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเอง ได้สัมผัสได้จัดกระทำกับวัตถุของจริง มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้นและการมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อนๆในห้องเรียน ส่งผลต่อการสร้างความรู้ทางด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพูดที่กระตุ้นเด็กเกิดความสนใจใฝ่เรียนรู้ เช่นการซักถามด้วยความเอาใจใส่ของครู ส่วนการสร้างความรู้และข้อมูลย้อนกลับนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในตัวของเด็กเอง เด็กไม่ต้องการการสอนโดยตรงแต่จากการที่ได้เผชิญกับปัญหา จะส่งผลให้เด็กพัฒนาความคิดในระดับสูงขึ้น สถานการณ์ในชีวิตประจำวันและการเล่นเกมเป็นกลุ่มจะส่งผลให้เด็กมีโอกาสคิดมากขึ้น

สรุปจากการดูโทรทัศน์ครู

                   การสอนแบบโครงการ คือ วิธีการสอนรูปแบบหนึ่งที่ให้โอกาสเด็กเรียนรู้โดยการสือค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องเฉพาะที่เด็กสนใจ ควรค่าแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสือค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆที่อยู่ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นร่วมกันหรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น หัวเรื่องที่ถูกเรื่องควรมีความหมายต่อชีวิตต่อตัวเด็กและครูสามารถบูรณาการการเนื้อหา เช่น คณิตศาสตร์ การอ่านและวิทยาศาสตร์ ในการทำโครงการของเด็กได้ด้วย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 ประจำวันที่ 23 มกราคม 2558



วิธีการสอน
       ทำแบบทดสอบวัดความรู้เดิมก่อนเริ่มเรียน
       นำเสนอผ่านโปรแกรม Powerpoint เน้นให้ผู้เรียนแต่ละคนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและกล้าแสดงความคิดเห็น

ประเมินห้องเรียน

        ห้องเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้

ประเมิน

        - ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม เคารพความคิดเห็นผู้อื่น
        - เพื่อน    คุยกันขณะเรียนบ้างเล็กน้อยแต่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมดี
        - อาจารย์  เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม  อธิบายเรื่องที่เรียนให้เข้าใจง่าย

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 ประจำวันที่ 16 มกราคม 2558


ความรู้ที่ได้รับ
     1. ความหมายของคณิตศาสตร์
     2. ความสำคัญของคณิตศาสตร์
     3. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     4. ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

ความหมายของคณิตศาสตร์

       คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่เกี่ยวข้องกับการคำนวน การคิดเลข เป็นวิชาที่มีความจำเป็นกับทุกๆอาชีพ เด็กจะเรียนรู้คณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัวไม่ใช่เฉพาะตัวเลข โดยเกิดจากการสังเกตและการเปรียบเทียบ ยิ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและจับต้องได้ ก็จะทำให้เข้าใจได้ง่ายและดียิ่งขึ้น

ความสำคัญของคณิตศาสตร์

       คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิต ทำให้มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผล มีนิสัยที่ละเอียดอ่อน รอบครอบ มีไหวพริบปฏภาณที่ดีขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาให้ถูกต้องตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานให้กับคนในสังคมเพื่อดำรงชีวิตร่มกันอย่างมีความสุข

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

        เป็นกระบวนการทางความคิดที่ต้องจัดตามความเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความคิดที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีทั้งหมด 5 ขั้น คือ 1. จำนวนและการดำเนินการ  2. การจัด  3. เลขาคณิต  4. พีชคณิต  5. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

        ทำให้เด็กเรียนรู้จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะหรือขนาด คณิตศาสตร์ช่วยส่งเสริมในการประกอบอาชีพต่างๆ ช่วยในการปลูกฝังและอบรมจะทำให้มีนิสัยละเอียด สุขุม รอบครอบ


งานกลุ่มระดมสมอง




ประเมินสภาพในห้องเรียน

     - ตนเอง
         มีความตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง 

     - เพื่อน
            มีคุยกันบ้างเล็กน้อย เพื่อระดมสมองคิดงานกลุ่ม

  

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1ประจำวันที่ 9 มกราคม 2558

ความรู้ที่ได้รับ

                  ผู้สอนอธิบายการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและให้สรุปเป็น My Mapping ของตนเอง
                   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแบ่งได้อะไรบ้าง
                                     1. การจัด
                                     2. ประสบการณ์
                                     3. คณิตศาสตร์
                                     4. เด็กปฐมวัย

วิธีการสอน
                    ผู้สอนบรรยายเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและยังให้นักศึกษาช่วยกันออกความคิดเห็นโดยใช้ความคิดเห็นที่มาจากประสบการณ์และอธิบายข้อเท็จจริงให้ผู้เรียนคิดตามและหาคำตอบกับหัวข้อนั้นๆ

ประเมินห้องเรียน
                     บรรยากาศดี มีโต๊ะและเก้าอี้เพียงพอแก่ผู้เรียน

ประเมิน
                      - ตนเอง ตั้งใจฟังและคิดตามสิ่งที่อาจารย์สอน
                      - เพื่อน   ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายไม่ค่อยคุยกันเพื่อที่จะสามารถตอบคำถามอาจารย์ได้
                      - อาจารย์ สอนแบบให้ผู้เรียนคิดตาม

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปจากบทความ
                    คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไม่ได้เริ่มในวันแรกของการเข้าโรงเรียน พัฒนาการของความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข รูปทรงและแบบรูป เริ่มตั้งแต่ที่เด็กมีประสบการณ์อยู่ในช่วงทารก การเล่นกับของเล่น การพูดคุย การร้องเพลง การค้นคว้าสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก จะเป็นพื้นฐานสำคัญให้เด็กรู้จักโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ควรจัดให้เด็กมีประสบการณ์การค้นคว้าอย่างไม่เป็นทางการด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เพราะเป็นการวางรากฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย